สถานที่ท่องเที่ยวในอิเสะ - โทบะ

อิเสะ และ โทบะ เป็นอีกสองเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ซึ่งก็แตกต่างกันออกไปกันคนละแบบซึ่งแต่ละที่ก็น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากันเลย แต่จะเป็นสถานที่แบบไหนนั้นก็ต้องลองอ่านแล้วไปพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าจะน่าสนใจจริงอย่างที่ว่าหรือเปล่า



อิเสะ - โทบะ


อิเสะ (Ise) ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดมิเอะ (Mie Ken) มีชายฝั่งติดทะเลด้านมหาสมุทรแปรซิฟิค เมืองอิเสะเป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นเพราะเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าใหญ่ (Ise Jingu) เป็นศาลเจ้าชินโตที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น

โทบะ (Toba) จะไม่ไกลจากเมืองอิเสะมากนัก ที่เมืองนี้ขึ้นชื่อเรื่องการผลิตไข่มุกคุณภาพจากเกาะไข่มุกมิกิโมโตะ (Mikimoto Pearl Island) และเรื่องราวของอะมะ (Ama) กลุ่มสตรีผู้ดูแลไข่มุกที่ดำน้ำได้อึดที่สุด



แผนที่อิเสะ





ศาลเจ้าใหญ่แห่งเมืองอิเสะ (Isejingu Shrine)


ศาลเจ้าใหญ่แห่งเมืองอิเสะ (Isejingu Shrine) คนญี่ปุ่นรู้จักในอีกชื่อหนึ่ง "โอะ อิเสะ ซัง" (Oise-san) มาตั้งแต่สมัยโบราณ ศาลเจ้าใหญ่แห่งเมืองอิเสะนี้ถือเป็นอันดับ 1 ของศาลเจ้าชินโต ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าศาลเจ้านี้มานานแล้วไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี ทุก ๆ 20 ปีจะมีการจัดพิธี "ชิกิเนง เชงกุ" (Shikinen Sengu) เป็นพิธีกรรมสับเปลี่ยนศาลเจ้า หลังใหม่ของทั้งสองศาลเจ้า ซึ่งครั้งที่ 62 จัดไปเมื่อปี พ.ศ.2556 ศาลเจ้านี้แบบออกเป็น 2 แห่ง คือ

ศาลเจ้าชั้นนอก (Outer Shrine)

ศาลเจ้าชั้นนอก (Outer Shrine) เรียกว่า โทโยเกะ ไดจิงงุ หรือ เงะกุ (Toyouke-Daijingu : Geku) ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรมนามว่า โทโยเกะ โอมิคามิ จากสถานี Ise-shi เดินตามเสาหินประดับโคมไฟริมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ถึง 10 นาที เมื่อเดินข้ามสะพานเล็กๆ ก็จะเห็นเสาโทริอิ ด้านหน้ามีการ ด้านหน้ามีการจัดไม้ดัด ภายในร่มรื่นไปด้วยต้นไม้อายุนับร้อยปี เมื่อเดินมาตามทางหินกรวดไม่นานก็จะถึงตัวอาคาร ศาลเจ้าหลัก เรียกว่า "โชงุ" (Shogu) ที่เห็นหลังคาเป็นสีเขียวนั้นเกิดจากการขึ้นของหญ้ามอลสีเขียวที่ขึ้นจะทั่วทำให้ดูสวยงาม รอบๆ มีศาลเจ้าเล็กๆ ตั้งอยู่อีกหลายแห่ง ที่ศาลเจ้าจะพบมัดรวงข้าวห้อยไว้ตามศาล ซึ่งถือเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรม ที่ลำธารเล็กๆ ก็มีฝูงปลาคาร์ฟแวกว่ายอยู่

ศาลเจ้าชั้นใน (Inner Shrine)

ศาลเจ้าชั้นใน (Inner Shrine) โคไตจิงงุ หรือ ไนกุ (Kotaijingu : Naiku) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เทพเจ้าอะมะเทระสุ โอมิคามิ สามารถนั่งรถเมล์จากป้ายรถเมล์ที่หน้าศาลเจ้าชั้นนอกได้ ซึ่งศาลเจ้าชั้นในห่างออกมาประมาณ 6 กิโลเมตร เสาโทริอิที่นี่มีชื่อเรียกว่า "ไดอิชิ โทริอิ" (Daiichi-Torii) ตั้งขวางสะพานอุจิ (Uji-Bashi) สะพานข้ามแม่น้ำอีซูซุ (Isuzu) จากนั้นเดินตามทางหินกรวดผ่านเสาโทริอิต้นที่ 2 จากตรงนี้จะมีทางเดินให้ลงไปที่แม่น้ำ ที่เชื่อกันว่าเป็นแม่น้ำศักสิทธิ์บ้างคนก็นำมาพรมตามร่างกายเพื่อความเป็นศิริมงคล ก่อนจะเดินไปที่อาคารศาลเจ้าหลัก ซึ่งภายในศาลเจ้านั้นดูร่มรื่นเช่นเดียวกับศาลเจ้าชั้นนอก แต่ที่ศาลเจ้านี้จะมีคนเดินทางมาสักการะเยอะกว่าศาลเจ้าชั้นนอก





โอฮาไรมาชิ (Oharaimachi)


โอฮาไรมาชิ (Oharaimachi)

โอฮาไรมาชิ (Oharaimachi) ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูทางเข้าศาลเจ้าชั้นในนั่นแหละ ถนนสายนี้ได้ชื่อว่าเป็นถนนสายโบราณ สองข้างทางของถนนมีร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร ร้านขนมพื้นเมือง เรียงรายในบรรยากาศของอาคารที่ดูย้อนยุคตั้งแต่สมัยเอโดะจนถึงเริ่มยุคเมจิ ถนนสายนี้มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ของที่ระลึกที่ขายส่วนใหญ่จะเป็นของเล่นที่ทำจากไม้ สินค้าพื้นเมือง ขนม เป็นต้น พ่อค้าแม่ค้าเองก็จะแต่งกายย้อนยุคให้เข้ากับบรรยากาศของถนนเส้นนี้ด้วย





เมะโอโตะ อิวะ (Meoto-Iwa)


เมะโอโตะ อิวะ

เมะโอโตะ อิวะ (Meoto-Iwa) อยู่ที่เมืองฟุตามิ (Futami) ก่อนเข้าไปถึงหินแต่งงานเมะโอโตะ อิวะ จะเห็นประตูเสาโทริอิสีแดงของศาลเจ้าโอกิตามะ แล้วให้เดินเรียบทางเดินริมทะเลไปอีกนิด ก็จะเจอหินก้อนใหญ่และหินก้อนเล็กที่ถูกโยงไว้ด้วยเชือกอยู่กลางทะเล ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่าเป็นหินเทพเจ้า ที่สื่อความหมายถึงการมีชีวิตคู่ที่ราบรื่น มีความสุข อยู่ด้วยการตราบนานเท่านาน

กบทองสำริด

หินก้อนใหญ่ชื่อว่า "อิซานิงิ" (Izanagi) เป็นหินผู้ชาย ส่วนหินก้อนเล็กชื่อว่า "อิซานามิ" (Izanami) เป็นหินผู้หญิง เชื่อกันว่าหากใครได้มาชมพระอาทิตย์ขึ้นระหว่างหินทั้งสองจะโชคดีทำการสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จ ไม่ห่างกันยังมีกบเทพเจ้าให้ลูบขอพรอีกด้วย เป็นกบทองสำริดตั้งอยู่กลางแจ้ง เชื่อกันว่าเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ประทานลงมาเพื่อช่วยชาวโลกให้ร่ำรวยเงินทอง





เกาะไข่มุขมิกิโมโตะ (Mikimoto Pearl Island) 


เกาะไข่มุขมิกิโมโตะ (Mikimoto Pearl Island)

เกาะไข่มุขมิกิโมโตะ (Mikimoto Pearl Island) อยู่ที่เมืองโทบะ เป็นเกาะเล็กๆ ในทะเลห่างจากฝั่งไม่เกินร้อยเมตร มีสะพานเชื่อมเข้าสู่ตัวเกาะ ไข่มุกกลายเป็นอัญมณีมีค่าในญี่ปุ่นโดยท่านโคชิกิ มิกิโมโต เมือไข่มุกขายถูกสร้างรายได้มากกว่าการนำไขมุกไปทำยาตามความเชื่อของญี่ปุ่น และจากการที่ท่านโคชิกิสังเกตอะมะ (Ama) กลุ่มสตรีที่ดำน้ำหาอาหารในทะเลมักจะได้หอยที่มีมุกฝั่งตัวกลับมาเสมอ ทำให้เกิดฟาร์มเพราะเลี้ยงหอยมุกขึ้น และรับอะมะเข้ามาทำงานในฟาร์มของเขา ซึ่งจะทำหน้าที่เอาหอยมุกที่วางนิวเคลียสแล้วลงไปไว้ที่ก้นทะเล ยามที่เกิดอุปสรรคที่เป็นอันตรายต่อหอยมุก อะมะก็จะเป็นผู้ที่ย้ายหอยมุกไปไว้ในที่ปลอดภัย

อนุสาวรีย์ของท่านโคชิกิ มิกิโมโตะ

แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย อะมะจึงมีหน้าที่แสดงโชว์การดำน้ำให้นักท่องเที่ยวชมแทน เมื่อข้ามสะพานไปจะพบบอนุสาวรีย์ของท่านโคชิกิ มิกิโมโตะ ที่สร้างโดยบรรดาอะมะเพื่อเป็นการขอบคุณที่ท่านได้สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่งคงให้พวกเธอ ตรงข้ามอนุสาวรีย์เป็น พิพิธภัณฑ์ไข่มุก (Pearl Museum) จัดแสดงรายละเอียดกรรมวิธีในการทำเครื่องประดับจากไข่มุกซึ่งเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงหอยมุก ไปจนถึงการทำเครื่องประดับ





ขอบคุณภาพประกอบ
Map of Japan ,es.wikipedia.org ,houseofjapan.com ,Joel Abroad ,j-plan.co.th
mic00l ,tkz1011 ,muza-chan.net